สุริยนมัสการ (Surya Namaskar) หรือที่เรียกว่า Sun Salutation แปลได้ตรงตัวคือ “ท่าไหว้พระอาทิตย์” หรือ “ท่าที่เเสดงความเคารพต่อพระอาทิตย์” ซึ่งเป็นทักทายและเคารพต่อเทพเจ้าในศาสนาฮินดูที่เป็นเทพผู้สร้างจักรวาล ในประเพณีเวท ดวงอาทิตย์เป็นสัญลักษณ์ของจิตสำนึกและพระเจ้า เป็นแหล่งกำเนิดของทุกชีวิต สุริยนมัสการเป็นการฝึกโยคะที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางที่สุดวิธีหนึ่ง ประกอบด้วยอาสนะรวมสิบสองท่าด้วยกันในหนึ่งชุดเชื่อมโยงต่อเนื่องกันอย่างสง่างาม และถือว่าเป็นการฝึกโยคะที่สำคัญที่สุด
โดยปกติแล้วเราสามารถทำตอนไหนก็ได้ที่เราสะดวก แต่ถ้าให้ดีก็แนะนำให้ทำในช่วงเช้าเพื่อกระตุ้นพลังงานพร้อมรับวันที่สดใสซึ่งใช้เวลาเพียง 10-15 นาทีเท่านั้นเอง วันนี้เราก็มีคลิปมาให้เรียนรู้แต่ละขั้นการฝึกฝนมาฝากกัน
ขอขอบคุณ วีดีโอจาก Mind Body Soul
ดูคลิปแล้วไม่ยากเลยใช่ไหมทุกคน อย่าลืมฝึกลมหายใจเข้าลึกออกยาวให้สัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวด้วย ไม่เน้นความรวดเร็ว ค่อยๆฝึกฝนจนชำนาญกันเลยค่ะ ต่อไปเรามาดูว่าแต่ละท่าอาสนะอย่างละเอียดกันบ้างว่ามีอะไรบ้างแล้วมีประโยชน์อย่างไร
ท่าที่ 1 Pranamasana (Prayer Pose)
ท่านี้จะช่วยปรับปรุงระบบทางเดินหายใจ ปรับปรุงท่าทางร่างกาย จัดตำแหน่งและเสริมไหล่ ช่วยควบคุมความโกรธ เสริมสร้างส่วนล่างของร่างกาย ช่วยในการย่อยอาหารและเพิ่มความยืดหยุ่นของสะโพก (ในท่า Squat) กระชับกล้ามเนื้อต้นขาและกระดูกสันหลังทำให้คุณสงบ ปลุกจิตวิญญาณของคุณให้ตื่นขึ้น ช่วยขจัดสิ่งไม่ดีออกจากจิตใจ
ท่าที่ 2 Urdhva Hastasana (Salute Post)
ท่านี้นั้นช่วยกระชับต้นขา ปรับปรุงการย่อยอาหาร และช่วยบรรเทาความวิตกกังวลและความเหนื่อยล้า ยังช่วยสร้างช่องว่างในทรวงอกและปอดซึ่งเป็นการรักษาโรคหืดหอบหอบ ปรับปรุงการไหลเวียนของเลือดทั่วร่างกายซึ่งนําไปสู่สุขภาพผิว, การเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อดีขึ้น เพิ่มและพลังงานอาการปวดสะหลังและปวดโพก
ท่าที่ 3 Uttanasana (Standing Forward bend)
ท่านี้จะกระตุ้นเอ็นร้อยหวายและกล้ามเนื้อต้นขา ท่านี้ยังช่วยกระตุ้นช่องท้องตับและไต ยืดน่อง และสะโพก ที่สำคัญท่านี้ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับหรืออาการซึมเศร้า ช่วยให้สมองสงบ คลายจากความเครียดอีกทั้ง ทำให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น ถือว่าเป็นท่าที่มหัศจรรย์มากๆ
ท่าที่ 4 Ashwa Sanchalanasana (Equestrian Pose or Low Lunge)
ท่านี้นวดอวัยวะในช่องท้องและปรับปรุงการทำงานของไตและตับ เสริมสร้างกล้ามเนื้อขา และกระตุ้นความสมดุลในระบบประสาท ยืดกระดูกสันหลังและเสริมสร้างกล้ามเนื้อหน้าอก เปิดหัวใจและเพิ่มความจุปอด เพิ่มพลังใจ ความกล้าหาญ และความมุ่งมั่น บรรเทาอาการท้องผูกช่วยภาวะมีบุตรยากและ บรรเทาอาการไม่สบายประจำเดือน
ท่าที่ 5 Chaturanga Dandasana (Low Plank)
ท่านี้เรียกว่าท่า “ไม้เท้าสี่ขา” เป็นท่าพื้นที่ควรฝึกบ่อยๆ ซึ่งจะปรับสมดุลศูนย์พลังงานเพิ่มความมั่นใจ ความมุ่งมั่น และความกล้าหาญ เสริมความแข็งแกร่ง ของกล้ามเนื้อแขน หน้าท้อง หลัง ต้นขา และข้อมือช่วยยืดกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นผลช่วยให้ออกกำลังกายอย่างอื่นได้นานขึ้น
ท่าที่ 6 Ashtanga Namaskara (Eight Limbed Salute)
ท่านี้เป็นท่าทำความเคารพที่ร่างกายจะสัมผัสกับพื้น 8 จุด ได้แก่ เท้า 2 ข้าง เข่า 2 ข้าง มือ 2 ข้าง หน้าอก และคาง ซึ่งเพิ่มความเเข็งแรงของหน้าท้อง เข่า และหน้าอก เพิ่มความคล่องตัวของด้านหลังและเพิ่มความเเข็งแรงของแขน ยืดพังผืดที่ฝ่าเท้าและยืดเหยียดนิ้วเท้า ปรับสมดุลของร่างกาย และป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่าง
ท่าที่ 7 Bhujangasana (Cobra Pose)
ท่านี้มีประโยชน์มากในการทำให้หลังของคุณแข็งแรง ทำให้หน้าอก ปอด ไหล่ และหน้าท้องยืดหยุ่น ปรับปรุงการย่อยอาหาร ตับและไต ช่วยเรื่องระบบสืบพันธ์ุทั้งชายหญิง หรือรอบเดือนมาไม่ปกติ กระชับกล้ามเนื้อส่วนสะโพก คลายเครียด รักษาโรคหอบหืด
ท่าที่ 8 Adho Mukha Svanasana (Downward-facing Dog Pose)
ท่านี้เป็นท่าที่ง่ายมากๆ จะช่วยทำให้การไหลเวียนของเลือดไปยังสมอง ดีต่อการยืดกระดูกสันหลังมาก ซึ่งจะช่วยยืดส่วนหลังของร่างกาย ข้อเท้า น่อง เอ็นร้อยหวาย ช่วยผู้ทีมีอาการปวดหลังเรื้อรังอีกด้วย
ฝึกวันละนิดจิตเเจ่มใส ร่างกายแข็งแรงนะค่ะทุกคน ถ้าอยากรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโยคะอาสนะเพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปติดตามได้ที่ “84 ท่าโยคะอาสนะ” ซึ่งจะรวบรวบท่าต่างๆเป็นวีดีโอไว้ให้เเล้ว ลองทำแล้วจะหลงรักโยคะ ช่วยทั้งกาย ทั้งใจ ขอบคุณค่ะ